Last updated: 6 มี.ค. 2567 | 232 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ เกิดได้จากหลายปัจจัย หากมีอาการนอนไม่หลับมากกว่า 2 สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน หากเกิดขึ้นบ่อยหรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตในอนาคตได้ ซึ่งอาการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
อาการเจ็บปวด เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดหัว
เกิดจากอาการเจ็บป่วยมีปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
เกิดจากความเครียด/วิตกกังวลใจจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น วัยหมดประจำเดือน ตั้งครรภ์
สภาพห้องนอนไม่เหมาะ เช่น แสงสว่าง เสียงรบกวน อุณหภูมิ
ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน นิโคติน หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป
มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นโรคซึมเศร้า โรคเครียดหลังประสบเหตุการณ์ร้ายแรง
อันตรายจากภาวะนอนไม่หลับ นอกจากทำให้ง่วงนอนตลอดเวลา จนอาจส่งผลให้กระทบต่อการทำงานขาดคุณภาพและประสิทธิภาพ หากปล่อยไว้นานอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายๆด้าน ดังนี้
เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
เป็นปัจจัยทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และมีความวิตกกังวลได้ในทุกๆเรื่อง
ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นจากการทำงานเพิ่มขึ้นของระบบประสาทซิมพาเทติก และการทำงานที่ลดลงของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
อาการนอนไม่หลับจากสาเหตุเหล่านี้ สามารถดีขึ้นได้หากเรามีการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ยกเว้นการนอนไม่หลับติดต่อกันนานมากกว่า 1 เดือน ถือเป็นอาการเรื้อรังที่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษา
ที่รีเฟรชชี่ คลินิก สามารถรักษาอาการได้หลายศาสตร์การรักษา โดยทีมรักษาเฉพาะทางจะเริ่มตรวจวินิจฉัยจากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย จากนั้นเริ่มวางแผนการรักษาอาการให้เหมาะสมในแต่ละบุคคล โดยสามารถรักษาได้โดย
กายภาพบำบัด รักษาระบบกล้ามเนื้อ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น ใช้เครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก หรือ PMS เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณจุดกดเจ็บ เพื่อบรรเทาอาการปวดไม่ให้รบกวนการนอนหลับ และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อป้องกันการเกิดอาการปวดอีกครั้ง
แพทย์แผนไทย ที่มีทั้งการใช้ทั้งหัตถเวชศาสตร์ เภสัชเวชศาสตร์ในการรักษา เพื่อรักษาอาการตามหลักกายวิภาค ด้วยการนวดกดจุดรักษาตามแนวกล้ามเนื้อและจุดสัญญาณ นวดศีรษะผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยบรรเทาความเครียดที่ก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ
แพทย์แผนจีน เน้นปรับสมดุลในร่างกายให้เลือดลมไหลเวียนดียิ่งขึ้น ด้วยการฝังเข็มสลายปมจุดปวด และครอบแก้ว เดินแก้ว รมยา นวดทุยหนา เป็นต้น เมื่อร่างกายเกิดความสมดุลจะส่งผลให้อาการนอนไม่หลับบรรเทาลง
3 ก.ค. 2567
9 ก.พ. 2567
15 พ.ค. 2567
27 ก.พ. 2567